7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา) โดย ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org


Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

ฟังตอนสุดท้าย:

Q : อย่าเห็นแก่สั้นอย่าเห็นแก่ยาว (การผูกมิตร)

A : การให้ทานเป็นหนึ่งในสังคหวัตถุ 4 เราสามารถรับและซื้อของให้กลับเพื่อผูกมิตร มิตรภาพมีค่าควรรับไว้ ทั้งนี้ให้ตรวจสอบสภาวะจิตว่าเราเป็นคนตระหนี่ไหม คือเค้าซื้อของให้แล้วไม่อยากซื้อให้กลับหรือไหม การให้ทานเป็นการลดความตระหนี่ เราควรรักษามิตรภาพไว้หากเขามีศรัทธากับเรา เราก็ดูว่าเราจะเป็นเนื้อนาบุญได้ไหม หรือแนะนำให้หยอดกระปุกชวนทำบุญร่วมกัน / คำว่า “อย่าเห็นแกสั้นอย่าเห็นแก่ยาว” หมายถึง อย่าแตกร้าวจากมิตรให้เร็วนัก อย่าจองเวรให้ยืดเยื้อนัก

 

Q : คุณสมบัติของเนื้อนาบุญเปรียบกับช้างทรงของพระราชา

A : อดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต้องเป็นช้างที่รู้ประหารคือกำจัดสิ่งที่เป็นอกุศล รู้รักษาคือสำรวมอินทรีย์ รู้ไปคือไปทางนิพพาน รู้ฟังคือฟังธรรมะ และรู้อดทนคืออดทนต่อเวทนาคำด่าคำว่า

 

Q : ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์อุเบกขา วิมุต ต่างกันอย่างไร? 

A : “ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์” มาจากศัพท์คำว่า “อทุกขมสุข” เป็นเวทนา คือถ้ามีผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกที่บอกไม่ได้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์มากระทบ ก็จะมีความรู้สึกที่จะบอกไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์เกิดขึ้น “อุเบกขา” คือความวางเฉย เป็นเวทนาที่เป็นหนึ่งในสติปัฎฐานสี่ เป็นหนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ “วิมุตติ” คือพ้นไม่เพลิน อยู่เหนือจากอุเบกขาขึ้นไป เมื่อวางได้จึงพ้น / ความต่างของอุเบกขาและวิมุตติคืออุเบกขา เป็นหนึ่งในสติปัฏฐานสี่หนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ ความเหมือนก็คือเป็นเวทนาเหมือนกัน มีความเพลินเหมือนกัน มีสติอยู่ด้วยเหมือนกัน / เมื่อเราเจริญสติปัฏฐานสี่ให้มากทำให้มากแล้ว เราจะมีองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรมคือโพชฌงค์ พอมีโพชฌงค์แล้วอาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ น้อมไปด้วยความสลัดคืน วิชชาและวิมุตติจะเกิดขึ้น

 

Q : นั่งสมาธิพอจิตตั้งมั่นแล้วจะเหมือนมีหนอนไต่เป็นเพราะเหตุใด และจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร?

 A : พิจารณากรณีที่ 1 เป็นนิมิตว่าให้เราเห็นความเป็นปฏิกูลในกายนี้คือไม่น่ายินดี ให้รักษาสติเห็นตามจริงอย่าตกใจ หากตกใจให้ตั้งสติขึ้นใหม่ ให้มีกำลังกล้าเผชิญหน้าว่ากายเราเป็นแบบนี้ กรณีที่2 หากเราเพิ่งเริ่มต้นปฏิบัติ อาการนี้คือการปรุงแต่งทางกาย เป็นเครื่องทดสอบให้ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ให้ดี รู้เฉย ๆ แต่ไม่ตามรู้ ก็สักแต่ว่ารู้ พอสอบผ่านแล้วจะไม่คันอีก

 

Q : การนั่งสมาธิทดแทนการหลับได้หรือไม่?

 A : ในการนอน 4 ประเภท หนึ่งในนั้นเรียกว่าการนอนอย่างตถาคต คือตื่นอยู่ในสมาธิ ไม่ง่วง ไม่หลับ จิตสว่างอยู่ ร่างกายได้รับการพักผ่อนอยู่ในสมาธิ ส่วนคนที่นอนไม่หลับคือง่วง เหนื่อยเพลีย แต่นอนไม่หลับ

 

Q : การทำสมาธิใกล้คนนอนมีผลกับคนนอนหรือไม่?

A : หากเป็นการขยับร่างกาย ก็อาจมีผลต่อคนที่นอนใกล้ได้ หากเราทำสมาธิแล้วให้เราแผ่เมตตา ผลที่ได้ไม่ใช่แค่คนใกล้ คนไกลก็ได้ประโยชน์ด้วย ได้ทั้งข้ามภพข้ามชาติด้วย



Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

ตอนก่อนหน้า

  • 354 - ความรู้คือวิชชา ความพ้นคือวิมุตติ [6716-7q] 
    Sat, 20 Apr 2024 - 0h
  • 353 - การตั้งสติไว้ในกาย [6715-7q] 
    Sat, 13 Apr 2024 - 0h
  • 352 - ขายนิพพาน [6714-7q] 
    Sat, 06 Apr 2024 - 0h
  • 351 - ตรงผัสสะมีรอยต่อ [6713-7q] 
    Sat, 30 Mar 2024 - 0h
  • 350 - อัปปมัญญา 4 [6712-7q] 
    Sat, 23 Mar 2024 - 0h
ตอนมากแค่ไหน

ไทยพอดคาสต์มากขึ้น -

พอดคาสต์ต่างประเทศมากขึ้น -

เลือกประเภท Podcast