1 สมการชีวิต

1 สมการชีวิต โดย ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

นำ "โจทย์" จากชีวิตจริงมาวิเคราะห์แจกแจง, เปิดประเด็นปัญหา ขุดคุ้ยคำตอบที่ซ่อนอยู่ แล้วปรับสมดุลย์ด้วยสัจจะธรรม เพื่อให้เห็นเส้นทางดำเนินต่อไปในชีวิต ในช่วง "สมการชีวิต". New Episode ทุกวันจันทร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org


Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

หมวดหมู่: สุขภาพ

ฟังตอนสุดท้าย:

เหตุปัจจัยแห่งความตาย

- เหตุปัจจัยแห่งการตายมีมาก เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ไม่ใช่เรื่องยาก ความตายต้องเกิดขึ้นกับทุกคนแน่นอน

- การรักหรือพอใจในสิ่งใดมาก หากไม่ได้สิ่งนั้นมา “จะตาย” ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่การตาย แต่ปัญหาอยู่ที่ “ความอยาก (ตัณหา)”

- เพราะมีตัณหา จึงมีอุปาทาน (ความยึดถือ)

เพราะมีอุปาทาน จึงมีภพ (สภาวะ)

เพราะมีภพ จึงมีความเกิด

เพราะมีความเกิด จึงมีความตาย


ความตายไม่ใช่เครื่องมือให้พ้นจากทุกข์

- ความตายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ความตายไม่ใช่ตัวแก้ปัญหา เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความตาย แต่ปัญหาอยู่ที่ความอยาก ดังนั้น แม้จะตายแต่ถ้ายังมีตัณหาหรืออวิชชาอยู่ ก็เป็นเหตุให้ไปเกิดใหม่ เมื่อเกิดใหม่ก็ต้องเจอปัญหาอีก ต้องเจอสิ่งที่เป็นทุกข์อีก ต้องตายอีก ซึ่งความทุกข์ที่จะต้องไปเจอปัญหาใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน

- ความตายเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่เครื่องมือให้พ้นจากความทุกข์ ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ คือ ให้รู้ว่าเหตุปัจจัยของความตายคือการเกิด การเกิดมาจากภพ ภพมาจากอุปาทาน อุปาทานมาจากตัณหา ถ้ามีตัณหามากมีอุปาทานมาก ความทุกข์ก็จะมาก

- การฆ่าตัวตายเป็นบาป (ยกเว้นบางกรณีในสมัยพุทธกาล) การฆ่าตัวตายด้วยทิฏฐิที่ไม่ถูกต้องอาจต้องไปเกิดในนรก ซึ่งเป็นภพที่มีความทุกข์มาก ความสุขน้อย


ผู้ที่เกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้มีบุญ

- ภพของมนุษย์มีทั้งสุขทั้งทุกข์ปนกันไป ไม่ใช่มีแต่ทุกข์เพียงอย่างเดียว ต้องมีสุขบ้างอย่างแน่นอน อยู่ที่เราจะมองเห็นหรือไม่

- การเห็นความจริงเพียงครึ่งเดียวว่าชีวิตมีแต่ความทุกข์เท่านั้น แล้วรับความจริงไม่ได้ จิตใจก็จะตกต่ำลง แต่หากจิตมีกำลังพอ จะมองเห็นอีกด้านหนึ่งของสุขและทุกข์ การคิดวนแต่เพียงด้านเดียวจะมองไม่เห็น ต้องเงยหน้าขึ้นมามองไปรอบ ๆ ถึงคนที่ยังมีความรักในเราอยู่ เช่น คนในครอบครัว ให้ตั้งสติไว้ ก็จะค่อย ๆ เห็น


ทางออกของปัญหาในโลกนี้

- ปัญหาในโลกนี้มีทางออกหลายทาง ซึ่งความตายไม่ใช่ทางออกของปัญหา

- “หากลำพังเพียงการตายแล้วจะทำให้ปัญหาจบลงตรงนั้น โลกนี้จะไม่มีปัญหาอะไร” แต่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น ปัญหาในโลกนี้ยังคงมีอยู่

- ตัณหา (ความอยาก) คือ ต้นเหตุของปัญหาต่าง ๆ จึงต้องกำจัดตัณหา

- จิตใจเราต้องมีเมตตา ให้อภัย ทั้งต่อตัวเราและผู้อื่น จิตใจจะเริ่มเบาขึ้นเรื่อย ๆ จะเห็นตามความเป็นจริงของชีวิตว่า สุขก็มี ทุกข์ก็มี ความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ เรื่องดี ๆ ในชีวิต ยังมีอยู่

- หากไม่เหลือใครในชีวิต ก็ยังมีพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ยังมีคำสอนของท่านอยู่


การมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า

- การมีชีวิตอยู่ด้วยความดี ด้วยความเมตตากรุณา ด้วยการให้อภัย ด้วยความเห็นตามความเป็นจริงว่าสุขก็มีทุกข์ก็มี วินาทีนั้นการมีชีวิตอยู่ของเราก็จะมีคุณค่า มีความหมาย

- ชีวิตเรามีค่า ตรงที่เราสามารถใส่ปัญญา ใส่ความดี ความเมตตากรุณา ความอดทน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเห็นตามความเป็นจริงในสุขทุกข์ ลงไปในชีวิตได้ การที่เราใส่สิ่งใดลงไปในชีวิต ชีวิตเราก็จะมีค่ามีราคาตามสิ่งนั้นขึ้นมา ชีวิตเรา เราเลือกได้ การเลือกได้นั้นคือการตั้งสติ ระลึกให้ได้ มองให้เห็น ทำความเข้าใจชีวิต ชีวิตในโลกนี้ยังมีโอกาสอยู่เสมอ

- เหตุการณ์ในชีวิตต่าง ๆ เป็นเครื่องเตือนสติ ให้เราตั้งสติเห็นว่าชีวิตมีสองด้านทั้งสุขและทุกข์ แล้วตัดสินใจดำรงชีวิตของเราให้มีคุณค่า มีราคา ด้วยปัญญา ด้วยความดี ด้วยเมตตากรุณา ด้วยการให้อภัย ด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ด้วยการเห็นตามความเป็นจริง ด้วยการเข้าใจชีวิต ให้ทำในขณะที่มีชีวิตอยู่ ทำชีวิตของเราให้มีคุณค่าด้วยสิ่งเหล่านี้



Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

ตอนก่อนหน้า

  • 319 - การมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า [6749-1u] 
    Sun, 01 Dec 2024 - 0h
  • 318 - เครื่องหมายแสดงการได้สมาธิ [6748-1u] 
    Sun, 24 Nov 2024 - 0h
  • 317 - ความสันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน [6747-1u] 
    Sun, 17 Nov 2024 - 0h
  • 316 - การเตรียมความพร้อมเพื่อตั้งรับความทุกข์ [6746-1u] 
    Sun, 10 Nov 2024 - 0h
  • 315 - ธรรมอันเป็นเครื่องป้องกันความขลาดและสมบัติ 3 ประการ [6745-1u] 
    Sun, 03 Nov 2024 - 0h
ตอนมากแค่ไหน

ไทยพอดคาสต์มากขึ้น - สุขภาพ

พอดคาสต์ต่างประเทศมากขึ้น - สุขภาพ

เลือกประเภท Podcast